ข้อห้าม 6 ข้อที่ห้ามทำอย่างเด็ดขาด เมื่อบ้านของท่านติดตั้งด้วยพื้นกระเบื้อง SPC ช่างปู พื้นกระเบื้อง SPC ในต่างประเทศใหญ่ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ต้องอบรม สอบผ่าน และมีใบอนุญาตเป็นช่างติดตั้งพื้นพื้น หรือเราเรียกว่า certified flooring installers เราต้องมีใบนี้ก่อนเราจึงจะสามารถรับงานเป็นช่างปูพื้น SPC ได้หรือพื้นลามิเนตได้ ช่างทุกคนจึงไม่ใช่แค่ปูพื้นได้ ติดบัวเป็น แต่ต้องมีความรู้เรื่องพื้น SPC อย่างถูกต้องว่าปูอย่างไรใช้ได้และปูอย่างไรจะมีปัญหาภายหลัง แต่ช่างปูพื้นในประเทศไทยส่วนมากเป็นช่างครูพักลักจำ เป็นลูกทีมเขาไม่ถึงปีก็ออกมารับงานกันแล้วเพราะไม่มีกฎหมายควบคุม ความรู้ที่ควรมีจึงมีไม่ครบถ้วน บางคนถึงขั้นปูพื้นผิดวิธีให้กับเจ้าของบ้านเลยก็มี สรุปข้อห้ามเรื่องการปูพื้น SPC สำหรับช่างปูพื้นและเจ้าของบ้านให้เข้าใจตรงกัน 6 ข้อห้าม ไปเริ่มกันเลย
ข้อห้าม 6 ข้อ ห้ามทำเด็ดขาด !! เมื่อท่านติดตั้งหรือปูพื้นกระเบื้อง SPC
เหตุผลว่าทำไมถึงห้ามทำ 6 ข้อนี้ มาจากคุณสมบัติของพื้น SPC ค่ะ รายละเอียดค่อนข้างยาวด้านล่างนี้
1. ห้ามปูพื้นชนผนัง ต้องเว้นช่องว่างอย่างน้อย 6 มม.
วัสดุปูพื้นทุกชนิดยืดหดตัวได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งพื้น SPC ก็ยืดหดตัวได้เช่นเดียวกัน โดยพื้น SPC วัสดุเวอร์จิ้นมีค่าสัมประสิทธิ์การยืดหดตัว 0-0.003% ต่อองศาเซลเซียส (ส่วนพื้น SPC รีไซเคิลค่าสัมประสิทธิ์สูงกว่านี้ และไม่คงที่แน่นอนเนื่องจากความหลากหลายของวัสดุรีไซเคิลที่ผสม) จากค่าสัมประสิทธิ์นี้ทำให้เราคำนวณได้ว่าพื้น SPC จะยืดหดมากน้อยแค่ไหนเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่างเช่นปูพื้น SPC ในห้องขนาดกว้าง 6 เมตร ในวันที่อุณหภูมิเท่ากับ 25 องศาเซียลเซียส ตอนใช้งานจริงกลางคืนเปิดแอร์เย็นฉ่ำอุณหภูมิเหลือ 15 องศาเซลเซียส และกลางวันเดือนเมษายนอากาศร้อนมากอุณหภูมิสูงถึง 42 องศาเซลเซียส
ช่วงกลางคืน พื้น SPC จะหดตัว = [25-15] องศา x [0.003/100] x 6,000 มม. = 1.8 มม. โดยจะหดตัวด้านซ้ายและด้านขวาเท่ากันด้านละ 0.9 มม.
ช่วงกลางวันจะกลับกัน คือ พื้น SPC จะขยายตัว = [42-25] องศา x [0.003/100] x 6,000 มม. = 3.06 มม. โดยขยายตัวไปทางซ้ายและขวาเท่ากันด้านละ 1.53 มม.
ถ้าเราปูพื้น SPC ชิดผนังเลย กลางคืนอากาศเย็นพื้นจะหดตัวเกิดช่องว่างระหว่างพื้นกับผนัง 0.9 มม. แต่กลางวันพื้นพยายามจะขยายตัว 1.53 มม. แต่ขยายตัวไม่ได้เพราะชนผนัง พื้นจึงดันกับผนังแล้วโก่งร่อนขึ้นมา
การปูพื้น SPC เวอร์จิ้นควรเว้นช่องว่างจากผนัง 6-8 มม. (ส่วนพื้น SPC รีไซเคิลอาจต้องเว้นช่องว่าง 10-15 มม. เพราะยืดหดตัวมากกว่า)
2. ห้ามใช้ยาแนวอุดช่องว่างระหว่างพื้นกับผนัง
เจ้าของบ้านบางคนไม่ให้ติดบัวและตัวจบ อาจต้องการประหยัดหรืออาจจะไม่ชอบเป็นการส่วนตัว ช่างที่ไม่รู้ก็จะแนะนำเจ้าของบ้านว่าสามารถยาแนวปิดช่องว่างนี้ได้ไม่จำเป็นต้องติดบัวหรือตัวจบ วิธีนี้เป็นข้อห้ามเหมือนกัน เพราะเมื่ออากาศเย็นพื้นหดตัวกาวยาแนวจะหลุดออกจากพื้นเห็นเป็นช่อง และเมื่ออากาศร้อนพื้นขยายตัวแล้วขยายตัวไม่ได้เพราะมีกาวยาแนวขวางอยู่ พื้นก็จะโก่งร่อนขึ้นไม่ต่างจากการปูพื้นชนผนังโดยตรง
3. ห้ามทากาว
พื้นล่างที่ไม่เรียบมักมีปัญหาปู SPC แล้วเวลาเดินรู้สึกว่าพื้นยุบหรือยวบ ช่างบางคนจึงแก้ปัญหาโดยการทากาวให้พื้น SPC ติดแน่นกับพื้นล่าง วิธีนี้ห้ามทำ วิธีแก้ไขต้องแก้โดยปรับผิวพื้นล่างให้เรียบ เช่น สกิมผิวหรือฉาบบาง หรือเทปูนเซ้ลฟ์เลเวลลิ่งปรับผิวใหม่ ไม่ใช่แก้โดยการทากาว
เหตุที่ห้ามทากาวเพราะการปูพื้น SPC คลิกล๊อกนั้นเป็นการติดตั้งแบบ Float floor คือ ปูพื้นแบบลอยตัว พื้นต้องสามารถยืดหดตัวในแนวนอนได้รอบทิศ การทากาวทำให้พื้นไม่ลอย กลายเป็นพื้นถูกยึด เมื่อพื้นยืดหรือหดตัวก็จะมีปัญหาว่าพื้นขยับไม่ได้ และทำให้พื้นโก่งร่อนได้
การทากาวบางกรณีทำได้ แต่ช่างต้องมีความรู้เรื่องการยืดหดตัวเป็นอย่างดี คือ ต้องรู้ว่าถ้าทากาวตรงนี้แล้วพื้น SPC จะยืดหดไปทางไหนได้บ้าง มีช่องว่างมากพอสำหรับให้พื้นขยายตัวหรือเปล่า บางครั้งช่างทากาวแล้วไม่เกิดปัญหาอาจเป็นเพราะเป็นพื้นผืนเล็กๆ แคบๆ ทากาวยึดพื้นด้านหนึ่งพื้น SPC ก็ยังสามารถขยายตัวไปอีกด้านหนึ่งได้โดยไม่ชนผนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าทากาวได้ แต่ถ้าไปทากาวกับพื้น SPC พื้นที่ใหญ่ๆ จะเกิดปัญหาแน่นอน
4. ห้ามตอกตะปู
การตอกตะปูทำให้พื้นยืดหดตัวไม่ได้เหมือนกับการทากาว จึงห้ามตอกตะปูอย่างเด็ดขาด
5. ห้ามปูโฟมเกิน 1 ชั้น
เจ้าของบ้านหลายท่านอยากได้พื้น SPC ที่เดินนุ่มสบายเท้า ช่างบางคนจึงแนะนำว่าให้ปูโฟมหนาๆ เป็น 2 ชั้นไปเลย วิธีแก้ปัญหาแบบนี้ห้ามทำ เพราะโฟมยิ่งหนายิ่งยุบมาก และถ้าพื้นบริเวณหนึ่งยุบมากเพราะมีน้ำหนักกด ขณะที่พื้นที่อยู่ติดกันไม่ยุบเพราะไม่มีน้ำหนักกด ก็จะเกิดปัญหาความต่างระดับกันของพื้น ถ้าต่างระดับมากพื้น SPC ก็จะมีปัญหาทำให้รางลิ้นแตกหรือฉีกได้ การปูโฟมรองพื้นหนาเกินไปจึงไม่ดี
** คำแนะนำเรื่องโฟมรองพื้น **
- โฟม eva ให้ปูชั้นเดียว ความหนา 1.0-1.5 มม. โฟมชนิดนี้เมื่อใช้งานไปนานๆ จะยุบแฟ่บและไม่คืนตัว บริเวณที่ใช้งานหนักโฟมอาจแฟ่บเหลือความหนาเพียง 0.3 มม. ขณะที่พื้นที่ติดกันแต่ไม่มีน้ำหนักกดเลยความหนาจะยังเท่าเดิม ถ้าใช้ความหนาโฟม 2.0 มม. เท่ากับพื้นที่สองบริเวณนี้โฟมด้านล่างความหนาจะต่างกันได้มากถึง 1.7 มม. ทำให้รางลิ้นฉีกแตกง่าย
- โฟม ixpe ให้ปูชั้นเดียว ความหนา 1.0-2.0 มม. เหตุที่ใช้ความหนาได้มากกว่าโฟม eva เพราะโฟม ixpe เป็นฟองอากาศที่โดนกดยุบแล้วเด้งคืนตัวกลับมาที่ความหนาเดิมได้ ใช้งานไปนานๆ ก็ไม่มีปัญหาโฟมยุบแฟ่บ จึงไม่มีปัญหารางลิ้นพื้น SPC แตกเพราะความต่างระดับ แต่ก็ไม่ควรใช้โฟมหนามากกว่า 2.0 มม. เพราะถ้ามีเฟอร์นิเจอร์กดทับไว้ตลอดเวลาก็อาจมีปัญหาพื้นต่างระดับมากจนรางลิ้นฉีกแตกได้เช่นเดียวกัน
6. ห้ามปูต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียวยาวเกิน 30 เมตร
การติดตั้งพื้น SPC แบบคลิกล๊อกสามารถปูต่อเนื่องได้แบบไม่เห็นรอยต่อ แต่ไม่ควรปูต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกันยาวเกิน 30 เมตร
1. ปูพื้นยาวๆ มีปัญหาเรื่องการยืดหดตัว
ถ้าเราปูพื้น SPC ต่อเนื่องยาว 30 เมตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และวันที่อากาศร้อนสุดอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส พื้น SPC จะขยายตัว [40-25] องศา x [0.003/100] x 30,000 มม. = 13.5 มม. แต่ SPC สามารถขยายตัวไปทางด้านซ้ายและขวาอย่างละครึ่ง หรือด้านละ 6.25 มม. ทำให้การปูพื้นแบบเว้นช่องจากผนัง 6-8 มม. พื้น SPC มีที่ว่างให้ขยายตัวได้ พื้นจึงไม่โก่งร่อน แต่ถ้าปูพื้น SPC ต่อเนื่องกันยาวกว่านี้ก็จะมีปัญหาว่าช่องที่เว้นไว้จะไม่พอให้พื้นขยายตัว
อาจสงสัยว่าเว้นช่องว่างจากผนัง 10 มม.ได้หรือไม่ คำตอบคือได้ แต่ต้องนึกถึงบัวเชิงผนังด้วยว่าใช้ความหนากี่ มม. สมมติว่าใช้บัวชนิดบางความหนา 10 มม. แล้วปูพื้น SPC เว้นช่องไว้ 10 มม. แสดงว่าเมื่อพื้น SPC หดตัว พื้นจะหลุดพ้นจากความหนาของบัวทันที ทำให้มองเห็นช่องว่าระหว่างพื้น SPC กับบัว เกิดภาพไม่สวยงาม
2. ปูพื้นยาวๆ มีปัญหาเรื่องแรงอัดและแรงดึง
เมื่อพื้นกระเบื้อง SPC ขยายตัว พื้นจะพยายามดันแผ่นข้างที่ติดกันให้ขยับออกไป แรงดันนี้เรียกว่าแรงอัด (compressive strength) และเมื่อพื้นหดตัวก็จะพยายามดึงแผ่นข้างที่ติดกันให้ขยับตามเข้ามา แรงนี้เรียกว่าแรงดึง (tensile strength) แรงดึงหรือแรงอัดนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแผ่นพื้นคูณกับสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน หรือเท่ากับ µN
แรงอัดที่เกิดขึ้นมักไม่มีปัญหาเพราะ SPC สามารถรับได้ แต่ปัญหาเกิดขึ้นกับแรงดึง เพราะชิ้นส่วนที่จะดึงพื้น SPC ให้หดตามกันมาได้คือรางลิ้น หากปูพื้น SPC ต่อเนื่องยาวมากเกิน 30 เมตร ค่า µN นี้อาจสูงเกินกว่ารางลิ้นจะรับไหว ทำให้รางลิ้น SPC แตกหักได้
ตัวอย่างพื้น SPC ความหนา 4 มม. มีน้ำหนัก 8.6 กก./ตรม. ถ้าปูต่อเนื่อง 30 เมตร น้ำหนักรวมจะเท่ากับ 30×8.6 = 258 กก./หน้ากว้าง 1 เมตร ถ้าเป็นพื้น SPC ที่ปูบนโฟม ixpe ค่า µ ประมาณ 0.15 แรงดึงจะเท่ากับ 0.15×258 = 38 kg-force หรือประมาณ 380 นิวตัน SPC แผ่นตรงกลางจะรับแรงดึงนี้ไปเต็มๆ ซึ่งพื้น SPC เวอร์จิ้นสามารถรับได้ แต่ถ้าเกินกว่านี้จะเริ่มรับไม่ไหว (ส่วน SPC รีไซเคิลต้องดูผลทดสอบแต่ละยี่ห้อว่ารับแรงดึงแบบนี้ได้มากน้อยแค่ไหน)
ฝากไว้เป็นความรู้สำหรับช่างปูพื้น SPC และเจ้าของบ้านค่ะ แต่ถ้าเจ้าของบ้านไม่อยากปวดหัวก็จ้างให้บริษัทฯ ผู้จำหน่ายพื้น SPC ที่เชื่อถือได้ทำให้เลยดีกว่าค่ะ
credit: AVERBEST SPC
พื้นกระเบื้อง SPC คืออะไร
พื้น SPC เป็นพื้นที่ผลิตมาจาก Rigid มีความแข็งแรงและมีความทนทาน เริ่มเป็นที่นิยมมากในยุคสมัยนี้เนื่องจากคุณสมบัติของมันคือ กันน้ำ กันไฟ ทนต่อความชื้น ปลอดและปลวกไม่สามารถทำอะไรมันได้เลย
✅ สินค้าราคาโรงงาน ขาย ปลีก-ส่ง
✅ รับประกันคุณภาพสินค้าทุกชิ้น
✅ มีระบบผ่อนจ่าย ตามความสะดวกของลูกค้า
✅ สามารถผลิตในแบรนด์ของลูกค้าเองได้
✅ มีบริการจัดส่ง – ติดตั้ง ทั่วประเทศ
✅ สอบถาม-ปรึกษา(ฟรี)
สนใจดูตัวอย่างสินค้า/เป็นตัวแทนขาย
Inbox: m.me/CCTGROUPCompany
Email : [email protected]
Line: Lakkana99
โทร : 0816428556 (คุณลักขณา)
Website : https://www.cctgroup.co.th
Facebook : บัวเชิงผนัง พื้นไม้ลามิเนต กระเบื้องยาง By CCT Group